กำเนิดDORAEMON


 

แรงบันดาลใจ

                    ตัวละครโดราเอมอนนั้น ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจาก ลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่ น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมากฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่ บนพื้นเหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตา ญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น

ต้นกำเนิด

                โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิใน วัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้านแต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 (พ.ศ. 2665) ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" (ノラミャー子) แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอรู้ว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่โดราเอมอนหยิบผิดกลายเป็นดื่มยาโศกเศร้าแทน ทำให้เขาโศกเศร้ากว่าเดิม และร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด 3 วัน 3 คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรักนอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดเรมี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ









ส่วนประกอบในร่างกาย


กายวิภาคของโดราเอมอน
เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์แมวที่ผลิตขึ้นในอนาคตคือคริสต์ศตวรรษที่ 22 ตามจินตนาการของผู้แต่ง ส่วนประกอบในร่างกายของโดราเอมอนจึงเต็มไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง(แต่จะเสียแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทำให้โดราเอมอนมีราคาถูกมาก) ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
โดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์แมวที่มีการติดตั้งชิปคอมพิวเตอร์ใน หัว ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด สามารถพูดภาษามนุษย์ (ภาษาญี่ปุ่น) และพูดภาษาแมวได้ แต่ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาญี่ปุ่น และภาษาสัตว์อื่นๆ จะฟังไม่รู้เรื่อง จึงต้องพึ่ง "วุ้นแปลภาษา"กับ "หูฟังภาษาสัตว์" แทน อีกทั้งยังสมองไม่ไวเท่าที่ควร เวลาคำนวณเลขยากๆ จึงต้องใช้กระดาษทด หรือเครื่องคิดเลขช่วย
นอกจากนี้ หัวของโดราเอมอนยังแข็งราวกับหิน ซึ่งเขาถือว่าเป็นอาวุธลับขั้นสุดท้ายของตัวเอง โดยสามารถเอาหัวโขกจนประตูพังได้ และวิ่งกระโจนเอาหัวพุ่งใส่แทงค์แก๊ส(ที่ทำจากโลหะผสมชนิดพิเศษ) จนแทงค์เป็นรูเสียหาย (แต่ตนเองก็หมดสติไปเลยเช่นกัน)
ใบหน้าของโดราเอมอน มีลักษณะเป็นทรงกลม จมูกกลมสีแดง และมีหนวด 6 เส้น ดูคล้ายกับแมว แต่คนอื่นๆ มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทานูกิ หรือแรคคูน ซึ่งโดราเอมอนจะไม่พอใจทุกครั้งที่ถูกเรียกแบบนั้น
ตาแสงอินฟราเรด สามารถมองเห็นได้แม้แต่ในที่มืด(ชำรุด)
มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ สีแดง เหมือนกับปลายหาง รับรู้กลิ่นได้ไวกว่ามนุษย์ 20 เท่า แต่ปัจจุบันชำรุด จึงสามารถดมกลิ่นได้เท่าจมูกคนเท่านั้น
มี 6 เส้น เป็นหนวดเรดาร์ สามารถจับวัตถุระยะไกลได้ แต่อยู่ระหว่างรอซ่อมแซม
ผิวหนังเป็นโลหะผสมพิเศษต้านแรงดึงดูด ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถจับเกาะได้ นอกจากนี้ยังมีความทนทานสูง แม้อยู่ในอวกาศหรือใต้ทะเลลึกก็ไม่เป็นปัญหา โดนของเหลวคล้ายกรดสาดใส่ก็ไม่ละลาย แต่ก็มีข้อเสียหลายอย่างเช่นกัน คือ แพ้อากาศร้อน และแพ้อากาศหนาว จนถึงขั้นเป็นหวัดได้ หากโดนไฟฟ้าช็อตก็จะเสียหาย และพอกินอะไรเข้าไปจะกลายพลังงานทั้งหมด
รูปร่างกลมสีขาวไม่มีนิ้วมือ จึงไม่สามารถเล่นพันด้าย และเป่ายิ้งฉุบได้ เล่นบาร์โหนก็ไม่ถนัดแต่สามารถดูดจับสิ่งของได้ทุกอย่าง
ปากขนาดกว้าง สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานปรมาณูโดย มีเตาปฏิกรณ์อยู่ที่ส่วนกระเพาะ ภายในปากจะมีฟันที่เรียกว่า "ฟู้ดคัตเตอร์" ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะเวลาที่โดราเอมอนโกรธจนต้องยิงฟันเท่านั้น แต่ในตอนพิเศษ "ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006" โดราเอมอนกลับถูกวาดให้มองเห็นซี่ฟันอย่างชัดเจน
  • กระพรวน
ไว้ห้อยคอ มีสีเหลือง ส่วนสายคาดมีสีแดง เมื่อสั่นกระพรวนจะสามารถเรียกแมวที่อยู่ใกล้เคียงมาชุมนุมกันได้ โดยจะปล่อยคลื่นเสียงพิเศษ แต่ตอนนี้ใช้งานไม่ได้ปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เพื่อใช้งานเป็นกล้องถ่ายรูปขนาดเล็กแทน
  • กระเป๋าหน้าท้อง
เป็นกระเป๋าสี่มิติ ไว้สำหรับเก็บของวิเศษ พื้นที่เก็บของไม่มีจำกัด สามารถถอดไปทำความสะอาดได้ โดยระหว่างนั้นจะนำกระเป๋าสี่มิติใบสำรอง หรือที่มักเรียกว่า "กระเป๋าสำรอง" มาใช้แทน ซึ่งกระเป๋าทั้งสองจะมีมิติเชื่อมต่อกัน ของที่เอาใส่ในกระเป๋าใบหนึ่ง จะสามารถนำออกมาจากกระเป๋าอีกใบหนึ่งได้
ลักษณะแบนเรียบ สีขาว มีพลังต้านแรงดึงดูด ส่งผลให้เท้าอยู่ลอยจากพื้น 3 มิลลิเมตร เลยไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าเพราะไม่มีฝุ่นผงติดเท้า เดิมทีเท้าของโดราเอมอนจะเป็นแบบที่สามารถเดินได้โดยไม่มีเสียงเหมือนกับแมว ย่อง แต่ปัจจุบันชำรุดไปแล้ว ทำให้เวลาเดินจึงมีเสียงจากแรงเสียดสีกับอากาศ
สำหรับเวลาขี่จักรยานต้องใช้ปากจับแฮนด์ และใช้มือถีบที่ปั่นจักรยานแทน เนื่องจากขาหยั่งไม่ถึง
เป็นสวิตช์ปิด-เปิด ถ้าถูกดึง ทุกอย่างจะหยุดทำงาน โดราเอมอนสามารถดึงหางเพื่อปิดสวิตช์ตัวเอง แต่ไม่สามารถดึงเพื่อเปิดเองได้ ปัจจุบันคุณสมบัตินี้ถูกยกเลิกไปแล้ว

ชื่อเรียกในภาษาต่างๆ

โดราเอมอนมีการตีพิมพ์ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้บางครั้งอาจจะมีมีการเรียกโดราเอมอนต่างกันในแต่ละภาษา นอกจากนี้ในภาษาฮินดี และภาษาอินโดนีเซีย ยังคงเรียก Doraemon ตามต้นฉบับ